เมนู

เป็นต้น เป็นปัจจัย. เสียงที่เรียกว่าเพลงขับ ชื่อว่า เสียงขับร้อง. เสียง
คนตรีเนื่องด้วยพิณเป็นต้น เหลือจากที่กล่าวแล้ว ชื่อว่า เสียงประโคม
(วาทิตสทฺโท).

บทว่า สุมฺมสทฺโท (เสียงกรับ) ได้แก่ เสียงฉาบสำริดและกรับไม้
ตาล. บทว่า ปาณสทฺโท (เสียงปรบมือ) ได้แก่เสียงปรบด้วยฝามือ. บทว่า
สตฺตานํ นิคฺโฆสสทฺโท (เสียงร้องของสัตว์) ได้แก่ เสียงที่เปล่งโดยมีบท
และพยัญชนะไม่ปรากฏของสัตว์มากที่ประชุมกัน. บทว่า ธาตูนํ สนฺนิปาต-
สทฺโท
(เสียงกระทบกันของธาตุทั้งหลาย) ได้แก่ เสียงเสียดสีกันและกันของ
ต้นไม้ทั้งหลาย และเสียงตีระฆังเป็นต้น. เสียงของลมพัด ชื่อว่า เสียงลม.
เสียงของน้ำกำลังไหล หรือน้ำกระทบกัน ชื่อว่า เสียงน้ำ. เสียงสนทนา
เป็นต้นของพวกมนุษย์ ชื่อว่า เสียงมนุษย์. เว้นเสียงมนุษย์นั้นแล้ว เสียง
ที่เหลือทั้งหมด ชื่อว่า เสียงอมนุษย์. ด้วยบททั้ง 2 คือ เสียงมนุษย์และ
เสียงอมนุษย์นี้ เสียงทั้งหมดเป็นอันถือเอาแล้ว. แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น เสียงที่
ไม่ตรัสไว้ในพระบาลีที่เป็นไปในเวลาผ่าไม้ไผ่ และเสียงฉีกผ้าเก่าเป็นต้น พึง
ทราบว่ารวมเข้าในข้อว่า เยวาปนกสัททะ เสียงแม้ต่างกันโดยประเภทมีเสียง
กลองเป็นต้นอย่างนี้ แต่มิได้ต่างกันโดยลักษณะเป็นต้น.

ว่าโดยลักขณาทิจตุกะของเสียง


สพฺโพ เจโส โสตปฏิหนนลกฺขโณ สทฺโท

ก็เสียงทั้งหมดมี
การกระทบกับโสตเป็นลักษณะ โสตวิญฺญาณสฺส วิสยภาวรโส มีความ
เป็นอารมณ์ของโสตวิญญาณเป็นรส ตสฺเสว โคจรปจฺจุปฏฺฐาโน มีความ
เป็นโคจรของโสตวิญญาณนั้นนั่นแหละเป็นปัจจุปัฏฐาน. คำที่เหลือพึงทราบ
โดยนัยที่กล่าวในจักขายตนนิทเทสนั่นแหละ แม้ในสัททายตนนิทเทสนี้ ก็ตรัส

วาระ 13 วาระประดับด้วยนัยวาระละ 4 เนื้อความแห่งบทเหล่านั้นสามารถจะ
รู้ได้โดยนัยที่กล่าวไว้นั่นแหละ ฉะนั้น จึงมิได้ให้พิสดาร.

อรรถกถาคันธายตนนิทเทส


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งคันธายตนะต่อไป.
บทว่า มูลคนฺโธ (กลิ่นรากไม้) ได้แก่ กลิ่นที่เกิดขึ้นอาศัยรากไม้
อย่างใดอย่างหนึ่ง. แม้ในกลิ่นที่แก่นเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. กลิ่นผักดอง
เป็นต้นที่ยังไม่สำเร็จแล้ว หรือสำเร็จแล้วไม่ดี ชื่อว่า อามคันโธ (กลิ่นบูด).
กลิ่นเกล็ดปลา กลิ่นเนื้อเน่า กลิ่นเนยใสเสียเป็นต้น ชื่อว่า วิสคันโธ (กลิ่นเน่า).
บทว่า สุคนฺโธ (กลิ่นหอม) ได้แก่ กลิ่นที่น่าปรารถนา. บทว่า
ทุคฺคนฺโธ (กลิ่นเหม็น) ได้แก่ กลิ่นไม่น่าปรารถนา. ด้วยบททั้ง 2 คือ
กลิ่นหอมและกลิ่นเหม็นนี้ ย่อมเป็นอันว่ากลิ่นแม้ทั้งหมดทรงถือเอาแล้ว. เมื่อ
เป็นเช่นนั้น กลิ่นแม้ทั้งหมดที่ไม่ตรัสไว้ในพระบาลีมีกลิ่นช่อฟ้าและกลิ่นผ้าเก่า
เป็นต้น. พึงทราบว่า รวมอยู่ที่เยวาปนกคันธะ. กลิ่นนี้แม้จะต่างกันโดยเป็น
กลิ่นที่รากเป็นต้นอย่างนี้ ว่าโดยลักขณาทิจตุกะแล้วก็ไม่แตกต่างกันเลย.

ว่าโดยลักขณาทิจตุกะของกลิ่น


สพฺโพปิ เจโส ฆานปฏิหนนลกฺขโณ คนฺโธ

ก็กลิ่นแม้ทั้งหมด
มีการกระทบฆานะเป็นลักษณะ ฆานวิญฺญาณสฺส วิสยภาวรโส มีความ
เป็นอารมณ์ของฆานวิญญาณเป็นรส ตสฺเสว โคจรปจฺจุปฏฺฐาโน มีความ
เป็นโคจรของฆานวิญญาณนั้นนั่นแหละเป็นปัจจุปัฏฐาน. คำที่เหลือพึงทราบ
โดยนัยที่กล่าวในจักขายตนนิทเทสนั่นแหละ แม้ในคันธายตนนิทเทสนี้ ก็ตรัส